Hurricane Electric IPv4 Exhaustion Counters

ดาวน์โหลดข้อมูลสถิติ IPv4และIPv6ได้ที่นี่

iPhone / iPad / iPod Touch App

Download:
iOS App Store
Additional Notes:
Includes maps of Hurricane Electric locations and links to additional IPv6 resources.

Android Application

Download:
Android Market
Additional Notes:
Includes maps of Hurricane Electric locations and links to additional IPv6 resources.\

Webpage Widget
Install:
Copy the following into your webpage:

iGoogle Gadget

Install:

Add to iGoogle

Google Desktop Gadget

Download:
Download for Google Desktop

Windows Vista / 7 Gadget

Download:
Download for Windows Vista / 7

Mac OS X Dashboard Widget

Updated: Dec-10-2010 – v1.4
Download:
Download Mac OS X Dashboard Widget

ข้อดี – ข้อเสีย ของ IPv6

ข้อดี
1 มีหมายเลข IP Address มากกว่าเดิมมาก ทำให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้
เครือข่ายมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเป็นการใช้งาน IP จริงทั้งหมด ต่างจากแต่ก่อนที่ไม่สามารถใช้งานได้ทุกเบอร์
2 มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี
3 เครือข่ายมีการทำงานแบบ Real Time Processing จึงทำงานได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4 ลดภาระในการทำงานของผู้ดูแลระบบด้านการบริหารจัดการ เนื่องจากมีการปรับแต่งระบบอัตโนมัติ
5 มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ (Mobile IP)

ข้อเสีย
1 การใช้ IPv6 แทน IPv4 เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและทำได้ยาก ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปและถูกวิธี
2 ประเทศไทยยังมีการติดตั้งเครือข่าย IPv6 ไม่มากนัก จะเกิดขึ้นกับคนบางกลุ่มหรือกับผู้ให้บริการรายใหญ่ๆเท่านั้น
3 ในประเทศไทยประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ จึงไม่ตื่นตัวหรือสนใจที่จะใช้ IPv6 ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต

การใช้งาน IPv6 (Internet Protocol version 6)

การนำ IPv6 มาใช้ ควรจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากการปรับเปลี่ยนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลจะส่งผลกระทบต่อเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมต่อกันอยู่ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนไปสู่เครือข่าย IPv6 ล้วน อาจใช้ระยะเวลาเป็นปี เพราะเหตุนี้ ทาง IETF จึงเสนอทางออกเพื่อช่วยในการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 ในระหว่างที่เครือข่ายบางแห่งเริ่มมีการปรับเปลี่ยน
ในช่วงแรก การใช้งาน IPv6 อาจอยู่ในวงแคบ ดังนั้นเราต้องการเทคนิคเพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายที่เป็น IPv6 เข้ากับเครือข่าย IPv4หรือเครือข่าย IPv6 อื่น เทคนิคการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ
1. การทำ dual stack—เป็นวิธีพื้นฐานที่สุด ทำงานโดยใช้ IP stack สองอันคือ IPv4 stack และ IPv6 stack ทำงานควบคู่กัน เมื่อใดที่แอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็น IPv4 ข้อมูลแพ็กเก็ตก็จะถูกส่งออกผ่านทาง IPv4 stack เมื่อใดที่แอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็น IPv6 ข้อมูลแพ็กเก็ตก็จะถูกส่งออกผ่านทาง IPv6 stack การทำ dual stack เป็นทางออกที่ง่ายที่สุดแต่ไม่ใช่ long term solution เนื่องจากยังจำเป็นต้องใช้ IPv4 address ที่โฮสต์หรือเร้าท์เตอร์ที่ใช้ dual stack นั้น
2. การทำ tunneling—เป็นอีกวิธีที่ใช้กันแพร่หลายเพราะเหมาะสมกับการสื่อสารระหว่างเครือข่าย IPv6 ผ่านเครือข่าย IPv4 การส่งข้อมูลทำได้โดยการ encapsulate IPv6 packet ภายใน IPv4 packet ที่ tunneling gateway ก่อนออกไปยังเครือข่าย IPv4 ที่ปลายทาง ก่อนเข้าไปสู่เครือข่าย IPv6 ก็จะต้องผ่าน tunneling gateway อีกตัวซึ่งทำหน้าที่ decapsulate IPv6 packet และส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทาง จะเห็นได้ว่าการทำ tunneling นี้จะใช้ไม่ได้สำหรับการสื่อสารโดยตรงระหว่างเครื่องในเครือข่าย IPv6 และเครื่องในเครือข่าย IPv4
3. การทำ translation—การทำ translation จะช่วยในการสื่อสารระหว่างเครือข่าย IPv6 และ IPv4 เทคนิคการทำ translationมีสองแบบ แบบแรกคือการแปลที่ end host โดยเพิ่ม translator function เข้าไปใน protocol stack โดยอาจอยู่ที่ network layer,TCP layer, หรือ socket layer ก็ได้ แบบที่สองคือการแปลที่ network device โดยจะต้องใช้ gateway ทำหน้าที่เป็น IPv6-IPv4และ IPv4-IPv6 translator อยู่ที่ทางออกที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย IPv6 และ IPv4
ทั้งนี้หลังจากการปรับเปลี่ยนเสร็จสมบูรณ์ เมื่อเครือข่ายต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เป็น IPv6 ทั้งหมด เราสามารถทำการสื่อสาร โดยใช้โพรโตคอล IPv6 โดยตรง ซึ่งเราเรียกการสื่อสารลักษณะนี้ว่า native IPv6 network
การประยุกต์ใช้งาน IPv6 จะสามารถใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ ผู้พัฒนาก็สามารถตอบสนอง ให้เป็นไปในสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ ถ้าIPv4 สามารถทำได้ IPv6 ก็สามารถทำได้ และประสิทธิภาพในการสื่อสารต้องดีกว่า IPv4 ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการนำเอา IPv6 มาทำการเคลื่อนที่เหมือน IPv4 แต่จะลด Overhead และเพิ่มประสิทธิภาพของความปลอดภัยทำให้การทำงานดีขึ้นเมื่อย้ายไปเครือข่ายอื่นๆจนสามารถกลับมาเครือข่ายเดิมของตัวเอง ตลอดการเชื่อมต่อโดยผู้ใช้ไม่ต้องมาติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงค่าใหม่ตามเครือข่ายนั้นๆ
Mobile IPv6
Mobile IPv6 คือ การใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่บนเครือข่าย IPv6 โดยปกติคอมพิวเตอร์พกพาหรือโน็ตบุคสามารถใช้งานตามที่ต่างๆ คล้ายกับการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงแต่คอมพิวเตอร์จะใช้ IP address แทนหมายเลขโทรศัพท์ ทีนี้ทำอย่างไรให้ IP address ของเราติดไปกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เหมือนหมายเลขโทรศัพท์เวลาเราย้ายเครือข่าย มาตราฐาน Mobile IPv6 จึงถูกกำหนดขึ้นมาโดยให้เครื่องคอมพิวเตอร์มี IP address สองชุด ชุดแรกเป็นเสมือน บ้านเลขที่เดิมเรียกว่า Home Address ชุดที่สองเป็นเสมือนเลขที่ชั่วคราวซึ่งได้มาเวลาย้ายเครือข่ายเรียกว่า Care-of address จากนี้ทุกการติดต่อกับ Home Address ก็จะถูกส่งต่อโดยตัวกลางหรือ Home Agent มายัง Care-of address โดยไม่สะดุดคือทั้งผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องเปลี่ยนแปลง IP address ใดๆด้วยตนเอง

ที่มา : http://sakon-pin.blogspot.com/2009/11/ipv6-internet-protocol-version-6_04.html

ประโยชน์และการนำไปใช้ในเชิงสร้างสรรค์

ในอนาคต โลกอินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทกับชีวิตเรามากขึ้น ทำให้เกิดแนวโน้มของการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย อุปกรณ์เหล่านั้นต่างต้องการมี IP Address เป็นของตนเอง เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในการสื่อสาร และเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้เหมือนคอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่ต้องผ่านระบบใดๆ ตัวอย่างของการนำไปใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ
1. การใช้ระบบระบุตำแหน่งหรือติดตามอุปกรณ์ต่างๆ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน หรือโทรศัพท์มือถือ
2. การผลิตตู้เย็นที่รองรับการใช้ IPv6 ที่ทำให้ตู้เย็นสามารถแสกนได้ว่าอาหารใดที่กำลังจะหมด และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปยังร้านค้าเพื่อสั่งซื้อสินค้าโดยตรง
3. การใช้ IPv6 ร่วมกับเทคโนโลยีบางอย่างที่ใช้ตรวจสอบสภาพแวดล้อม เพื่อตรวจสอบสภาพมลพิษในที่ต่างๆ
4. โทรทัศน์ในอนาคตอาจเป็นแบบที่สามารถโต้ตอบกับคนดูได้ หรือเครื่องเล่น CD ที่สามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์มาได้โดยตรงจากอินเทอร์เน็ต
5. ใช้ IPv6 ช่วยควบคุมการใช้พลังงานหรือก๊าชหุงต้มในองค์กรหรือครัวเรือน
6. การใช้เป็นอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือที่สามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้แม้ในขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่ โดยไม่เกิดปัญหา
7. อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการใช้งาน IPv6 สามารถรายงานสภาวะต่างๆของผู้ป่วย อาทิ ความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ โดยติดตั้งอุปกรณ์นี้ไว้ที่บ้านโดยที่ไม่ต้องมาพบแพทย์ เป็นต้น

ที่มา : http://sakon-pin.blogspot.com/2009/11/ipv6-internet-protocol-version-6_04.html

ขั้นตอนการทำงานของ Mobile IP

1. เมื่อ MN เคลื่อนที่ไปยัง Foreign network จะได้รับ IP address ใหม่จากเจ้าของเครือข่าย เรียกว่า Care-of address
2. MN ส่ง Binding Update ไปยัง HA เพื่อประกาศ Care-of address ให้ Home network ทราบ
3. HA ตอบรับโดยส่ง Binding Acknowledgement กลับ
4. เมื่อ CN ต้องการติดต่อกับ MN จะติดต่อผ่าน HA (เพราะยังไม่ทราบว่ามีการเคลื่อนที่)
5. HA ส่งต่อข้อมูลจาก CN ให้กับ MN โดยใช้ Care-of address ของ MN
6. MN สร้าง tunnel ผ่าน HA เพื่อส่งข้อมูลต่อไปยัง CN
7. Return Routability: MN และ CN แลกเปลี่ยน test packet เพื่อทดสอบเส้นทางว่าทั้ง Home address และ Care-of-address นั้นใช้งานได้ โดย MN จะส่ง test packet ไปทั้งสองเส้นทาง เส้นทางแรกส่งผ่าน HA ไปยัง CN และเส้นทางที่สองส่งไปยัง CN โดยตรง จากนั้น CN ตอบรับ test packet ทั้งสองพร้อมทั้งส่งรหัสเพื่อเริ่มการติดต่อ
8. Route Optimization: MN ส่ง Binding Update ไปยัง CN เพื่อประกาศ IP address ใหม่ จากนั้น CN จะตอบรับโดยส่ง Binding Acknowledgement กลับ จากนั้น MN และ CN จะติดต่อกันโดยตรงไม่ผ่าน HA โดยข้อมูลที่ส่งผ่านกันทั้งหมดนี้จะถูกเข้ารหัสลับเพื่อความปลอดภัย
หมายเลขไอพี หรือ ไอพีแอดเดรส (Internet Protocol Address) คือหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอล Internet Protocol คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสิบ จำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดยหมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร
ตัวอย่างของหมายเลขไอพี ได้แก่ 207.142.131.236 ซึ่งเมื่อแปลงกลับมาในรูปแบบที่อ่านได้จะเรียกว่า โดเมนแอดเดรส ผ่านทาง โดเมนเนมซีสเทม (Domain Name System) ซึ่งหมายเลขนั้นหมายถึง www.wikipedia.orgไอพีเวอร์ชัน 6
ไอพีเวอร์ชันที่ 6 (IPv6) ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยจุดประสงค์หลักในการแก้ปัญหาการขาดแคลนจำนวนหมายเลขไอพีซึ่งกำหนดโดยมาตรฐานไอพีเวอร์ชันที่ 4 ซึ่งในมาตรฐานของเวอร์ชัน 6 นี้จะใช้ระบบ 128 บิตในการระบุหมายเลขไอพี