Hurricane Electric IPv4 Exhaustion Counters

ดาวน์โหลดข้อมูลสถิติ IPv4และIPv6ได้ที่นี่

iPhone / iPad / iPod Touch App

Download:
iOS App Store
Additional Notes:
Includes maps of Hurricane Electric locations and links to additional IPv6 resources.

Android Application

Download:
Android Market
Additional Notes:
Includes maps of Hurricane Electric locations and links to additional IPv6 resources.\

Webpage Widget
Install:
Copy the following into your webpage:

iGoogle Gadget

Install:

Add to iGoogle

Google Desktop Gadget

Download:
Download for Google Desktop

Windows Vista / 7 Gadget

Download:
Download for Windows Vista / 7

Mac OS X Dashboard Widget

Updated: Dec-10-2010 – v1.4
Download:
Download Mac OS X Dashboard Widget

ไทยก้าวสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตใหม่ IPv6

ประเทศไทยก้าวสู่ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใหม่ IPv6 (Internet Protocal version 6)กระทรวงเทคโนโลยีสารสน เทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ประกาศพาประเทศไทยก้าวเข้าสู่ IPv6 อย่างเป็นทางการในวันที่ 27 พ.ค. 54 โดย รศ.ดร.สินชัย กมลภิวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับตำแหน่งนายกสมาคม IPv6 ประเทศไทย แม้เรื่อง IPv6 (Internet Protocal version 6) หรือการระบุหมายเลขอินเทอร์เน็ต จะพูดกันมาราว 10 ปีว่าต้องเปลี่ยนผ่านการใช้งานจาก IPv4 สู่ IPv6 เนื่องจากการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีการเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ปริมาณเลขหมาย IPv4 ซึ่งมีอยู่ประมาณ 4 พันล้านเลขหมายที่ใช้งานทั่วโลกหมดลง ดังนั้นถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนผ่านการใช้งานเข้าสู่ระบบใหม่ที่เรียกว่า IPv6 ที่รองรับการใช้งานได้มากกว่า IPv4 ถึง 2 ยกกำลัง 96 เท่า หากจะเปรียบให้เห็นภาพปริมาณเลขหมายของ IPv6 ว่ามีจำนวนมากมายเพียงใด ก็คงเทียบกับเม็ดทรายทุกเม็ดบนโลกสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน IPv6 ได้ นอกจากนี้จุดเด่นของ IPv6 คือ รองรับการรับ-ส่งข้อมูล และดูข้อมูลมัลติมีเดียได้ดีกว่า IPv4

สำหรับประเทศไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสน เทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ประกาศพาประเทศไทยก้าวเข้าสู่ IPv6 อย่างเป็นทางการในวันที่ 27 พ.ค. 54

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงไอซีที กล่าวว่า การพาประเทศไทยก้าวสู่การใช้งาน IPv6 กระทรวงไอซีทีเตรียมการมาตั้งแต่ปี 2551 โดยตั้งคณะทำงานส่งเสริมนโยบาย IPv6 ซึ่งมีผู้แทนจากหลายภาคส่วนมาร่วมพิจารณาการดำเนินการใช้ IPv6 ของประเทศไทย โดยกำหนดแนวทางการดำเนินการเตรียมความพร้อมเครือข่าย IPv6 สำหรับภาครัฐเป็นการนำร่อง เริ่มจากงานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ด้วยโครงข่ายการเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐ (GIN) ของกระทรวงไอซีที ซึ่งมีสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ

“การพาประเทศไทยก้าวเข้าสู่การใช้งาน IPv6 นี้ จะเริ่มที่โครงข่ายเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐ คาดว่าปี ค.ศ. 2015 จะใช้ IPv6 ได้ครอบคลุม”

ตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสน เทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศ ไทย พ.ศ. 2552-2556 ในส่วนของยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้กำหนดให้เริ่มพิจารณาวางแผนการสร้างโครงข่ายการสื่อสารยุคใหม่ หรือ Next Generation Network : NGN รวมถึงองค์ประกอบสำหรับขยายขอบข่ายของบริการอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันไปสู่บริการอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ หรือ IPv6 ให้เป็นผลสำเร็จ ตลอดจนได้มีการวางแผนการใช้งาน IPv6 ในโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติไว้ด้วย ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้เตรียมการเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่ IPv6 มาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเอกชน และองค์กรหลาย ๆ แห่งก็ได้มีการดำเนินการในเรื่องนี้

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า สำหรับการนำร่อง IPv6 ในโครงข่ายเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐจะเริ่มที่การบริหารจัดการเลขหมาย IPv6 ในโครงข่าย และทดสอบการใช้งานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 รวมทั้งอบรมเจ้าหน้าที่ด้านไอทีของภาครัฐเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับ IPv6 ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐมีเจ้าหน้าที่ด้านไอทีประมาณ 2-3 พันคน

รศ.ดร.สินชัย กมลภิวงศ์ นายกสมาคม IPv6 ประเทศไทย กล่าวว่า ปริมาณเลขหมายอินเทอร์เน็ตของ IPv4 หมดแล้วตั้งแต่เดือน ก.พ. ที่ผ่านมา แต่การก้าวเข้าสู่การใช้งาน IPv6 อย่างเต็มรูปแบบของประเทศไทยคงต้องใช้เวลานับ 10 ปี ทว่าช่วงเปลี่ยนผ่านยังคงต้องใช้งานควบคู่กันไประหว่าง IPv4 และ IPv6 ซึ่งขณะนี้ประเทศที่มีการใช้งาน IPv6 อย่างสมบูรณ์แล้วคือ อเมริกา เกาหลี ไต้หวัน และประเทศแถบยุโรป ส่วนในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ก้าวสู่การใช้งาน IPv6 แล้ว คือ อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ส่วนไทยอยู่ในอันดับที่ 10 ของเอเชียในการเตรียมความพร้อมก้าวสู่ IPv6

“การเปลี่ยนผ่านจาก IPv4 สู่ IPv6 ประชาชนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่สนใจว่าการเปลี่ยนผ่านจะเป็นอย่างไร เพียงขอให้ใช้งานได้ก็พอ หากแต่การเปลี่ยนผ่านจาก IPv4 สู่ IPv6 อาจทำให้การเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ช้าลงบ้าง แต่ไม่กระทบอะไร”

ทั้งนี้ ทั่วโลกกำหนดให้วันที่ 8 มิ.ย. 54 เป็นวัน World IPv6 DAY (เวิลด์ ไอพีวี6 เดย์) ที่ทั่วโลกพร้อมกันทดสอบการใช้งาน IPv6 เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งทำการทดสอบและตรวจสอบการใช้งานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://isoc.org/wp/worldipv6day/

อยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบการใช้งานการเปลี่ยนผ่านจาก IPv4 สู่ IPv6 ดูรายละเอียดได้เลย.

ทำไมไม่มี IPv5

ตามมาตรฐานด้านอินเทอร์เน็ตโพรโตคอล จะมีการระบุส่วนที่เป็นรุ่นของ อินเทอร์เน็ตเวิร์ก เจเนรัล โพรโตคอล (Internetwork general protocol) ซึ่งเป็นเวอร์ชั่น เบอร์ 4 โดยถูกระบุให้เป็นอินเทอร์เน็ตโพรโตคอล ส่วนเวอร์ชั่น เบอร์ 5 ถูกนำไปใช้แล้วและระบุให้เป็น ST Datagram Mode (ST) เกี่ยวข้องกับ Internet Stream Protocol ดังนั้นในการพัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ จึงต้องใช้เวอร์ชั่น เบอร์ 6 หรือ IPv 6

ที่มา : http://www.psu.ac.th/node/3321

IPv6 คืออะไร

IPv6 (Internet Protocol version 6) เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ Internet Protocol และได้รวมผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุน IP มาเป็นส่วนหนึ่งด้วย รวมถึงระบบปฏิบัติการหลัก IPv6 ได้รับการเรียกว่า “IPng” (IP Next Generation) โดยปกติ IPv6 เป็นกลุ่มของข้อกำหนดจาก Internet Engineering Task Force (IETF) โดย IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน 4 โดย host ของเครือข่ายและ node แบบ intermediate ซึ่ง IPv4 หรือ IPv6 สามารถดูแลแพ็คเกตของ IP เวอร์ชันอื่น ผู้ใช้และผู้ให้บริการสามารถปรับรุ่นเป็น IPv6 โดยอิสระ

การปรับปรุงที่ชัดเจนของ IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 การขยายดังกล่าวเพื่อรองรับการขยายของอินเตอร์เน็ต และเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนของตำแหน่งเครือข่าย

IP v6 ได้กำหนดกฎในการระบุตำแหน่งเป็น 3 ประเภทคือ unicast (host เดี่ยวไปยัง host เดี่ยวอื่น ๆ) anycast (host เดี่ยวไปยัง host หลายตัวที่ใกล้ที่สุด) multicast (host เดี่ยวไปยัง host หลายตัว) ส่วนเพิ่มที่พิเศษของ IPv6 คือ

– ตัวเลือกในการระบุส่วนขยายของส่วนหัว ได้รับการตรวจสอบเฉพาะจุดหมาย ดังนั้นความเร็วของระบบเครือข่ายสูงขึ้น

– ตำแหน่ง anycast ทำให้มีความเป็นไปได้ของการส่งข้อความไปยังหลาย ๆ gateway ที่ใกล้ที่สุดด้วยแนวคิดว่าให้บุคคลใด ๆ บริหารการส่งแพ็คเกตไปยังบุคคลอื่น anycast สามารถใช้ในการปรับปรุงตาราง routing ตลอดเส้นทาง

– แพ็คเกตได้รับการระบุให้มีการไหลชนิดพิเศษได้ ทำให้แพ็คเกตที่เป็นส่วนของมัลติมีเดียที่ต้องการ นำเสนอแบบ real time สามารถมีคุณภาพการให้บริการที่สูง

– ส่วนหัวของ IPv6 รวมถึงส่วนขยายยินยอมให้แพ็คเกตระบุกลไกแหล่งต้นทาง สำหรับการรวมข้อมูล และรักษาความลับ

ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/IPv6 , http://th.wikipedia.org/wiki/เลขที่อยู่ไอพี , http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=06349495e7d69b45

ข้อดี – ข้อเสีย ของ IPv6

ข้อดี
1 มีหมายเลข IP Address มากกว่าเดิมมาก ทำให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้
เครือข่ายมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเป็นการใช้งาน IP จริงทั้งหมด ต่างจากแต่ก่อนที่ไม่สามารถใช้งานได้ทุกเบอร์
2 มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี
3 เครือข่ายมีการทำงานแบบ Real Time Processing จึงทำงานได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4 ลดภาระในการทำงานของผู้ดูแลระบบด้านการบริหารจัดการ เนื่องจากมีการปรับแต่งระบบอัตโนมัติ
5 มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ (Mobile IP)

ข้อเสีย
1 การใช้ IPv6 แทน IPv4 เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและทำได้ยาก ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปและถูกวิธี
2 ประเทศไทยยังมีการติดตั้งเครือข่าย IPv6 ไม่มากนัก จะเกิดขึ้นกับคนบางกลุ่มหรือกับผู้ให้บริการรายใหญ่ๆเท่านั้น
3 ในประเทศไทยประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ จึงไม่ตื่นตัวหรือสนใจที่จะใช้ IPv6 ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต

การใช้งาน IPv6 (Internet Protocol version 6)

การนำ IPv6 มาใช้ ควรจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากการปรับเปลี่ยนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลจะส่งผลกระทบต่อเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมต่อกันอยู่ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนไปสู่เครือข่าย IPv6 ล้วน อาจใช้ระยะเวลาเป็นปี เพราะเหตุนี้ ทาง IETF จึงเสนอทางออกเพื่อช่วยในการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 ในระหว่างที่เครือข่ายบางแห่งเริ่มมีการปรับเปลี่ยน
ในช่วงแรก การใช้งาน IPv6 อาจอยู่ในวงแคบ ดังนั้นเราต้องการเทคนิคเพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายที่เป็น IPv6 เข้ากับเครือข่าย IPv4หรือเครือข่าย IPv6 อื่น เทคนิคการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ
1. การทำ dual stack—เป็นวิธีพื้นฐานที่สุด ทำงานโดยใช้ IP stack สองอันคือ IPv4 stack และ IPv6 stack ทำงานควบคู่กัน เมื่อใดที่แอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็น IPv4 ข้อมูลแพ็กเก็ตก็จะถูกส่งออกผ่านทาง IPv4 stack เมื่อใดที่แอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็น IPv6 ข้อมูลแพ็กเก็ตก็จะถูกส่งออกผ่านทาง IPv6 stack การทำ dual stack เป็นทางออกที่ง่ายที่สุดแต่ไม่ใช่ long term solution เนื่องจากยังจำเป็นต้องใช้ IPv4 address ที่โฮสต์หรือเร้าท์เตอร์ที่ใช้ dual stack นั้น
2. การทำ tunneling—เป็นอีกวิธีที่ใช้กันแพร่หลายเพราะเหมาะสมกับการสื่อสารระหว่างเครือข่าย IPv6 ผ่านเครือข่าย IPv4 การส่งข้อมูลทำได้โดยการ encapsulate IPv6 packet ภายใน IPv4 packet ที่ tunneling gateway ก่อนออกไปยังเครือข่าย IPv4 ที่ปลายทาง ก่อนเข้าไปสู่เครือข่าย IPv6 ก็จะต้องผ่าน tunneling gateway อีกตัวซึ่งทำหน้าที่ decapsulate IPv6 packet และส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทาง จะเห็นได้ว่าการทำ tunneling นี้จะใช้ไม่ได้สำหรับการสื่อสารโดยตรงระหว่างเครื่องในเครือข่าย IPv6 และเครื่องในเครือข่าย IPv4
3. การทำ translation—การทำ translation จะช่วยในการสื่อสารระหว่างเครือข่าย IPv6 และ IPv4 เทคนิคการทำ translationมีสองแบบ แบบแรกคือการแปลที่ end host โดยเพิ่ม translator function เข้าไปใน protocol stack โดยอาจอยู่ที่ network layer,TCP layer, หรือ socket layer ก็ได้ แบบที่สองคือการแปลที่ network device โดยจะต้องใช้ gateway ทำหน้าที่เป็น IPv6-IPv4และ IPv4-IPv6 translator อยู่ที่ทางออกที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย IPv6 และ IPv4
ทั้งนี้หลังจากการปรับเปลี่ยนเสร็จสมบูรณ์ เมื่อเครือข่ายต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เป็น IPv6 ทั้งหมด เราสามารถทำการสื่อสาร โดยใช้โพรโตคอล IPv6 โดยตรง ซึ่งเราเรียกการสื่อสารลักษณะนี้ว่า native IPv6 network
การประยุกต์ใช้งาน IPv6 จะสามารถใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ ผู้พัฒนาก็สามารถตอบสนอง ให้เป็นไปในสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ ถ้าIPv4 สามารถทำได้ IPv6 ก็สามารถทำได้ และประสิทธิภาพในการสื่อสารต้องดีกว่า IPv4 ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการนำเอา IPv6 มาทำการเคลื่อนที่เหมือน IPv4 แต่จะลด Overhead และเพิ่มประสิทธิภาพของความปลอดภัยทำให้การทำงานดีขึ้นเมื่อย้ายไปเครือข่ายอื่นๆจนสามารถกลับมาเครือข่ายเดิมของตัวเอง ตลอดการเชื่อมต่อโดยผู้ใช้ไม่ต้องมาติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงค่าใหม่ตามเครือข่ายนั้นๆ
Mobile IPv6
Mobile IPv6 คือ การใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่บนเครือข่าย IPv6 โดยปกติคอมพิวเตอร์พกพาหรือโน็ตบุคสามารถใช้งานตามที่ต่างๆ คล้ายกับการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงแต่คอมพิวเตอร์จะใช้ IP address แทนหมายเลขโทรศัพท์ ทีนี้ทำอย่างไรให้ IP address ของเราติดไปกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เหมือนหมายเลขโทรศัพท์เวลาเราย้ายเครือข่าย มาตราฐาน Mobile IPv6 จึงถูกกำหนดขึ้นมาโดยให้เครื่องคอมพิวเตอร์มี IP address สองชุด ชุดแรกเป็นเสมือน บ้านเลขที่เดิมเรียกว่า Home Address ชุดที่สองเป็นเสมือนเลขที่ชั่วคราวซึ่งได้มาเวลาย้ายเครือข่ายเรียกว่า Care-of address จากนี้ทุกการติดต่อกับ Home Address ก็จะถูกส่งต่อโดยตัวกลางหรือ Home Agent มายัง Care-of address โดยไม่สะดุดคือทั้งผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องเปลี่ยนแปลง IP address ใดๆด้วยตนเอง

ที่มา : http://sakon-pin.blogspot.com/2009/11/ipv6-internet-protocol-version-6_04.html

ประโยชน์และการนำไปใช้ในเชิงสร้างสรรค์

ในอนาคต โลกอินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทกับชีวิตเรามากขึ้น ทำให้เกิดแนวโน้มของการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย อุปกรณ์เหล่านั้นต่างต้องการมี IP Address เป็นของตนเอง เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในการสื่อสาร และเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้เหมือนคอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่ต้องผ่านระบบใดๆ ตัวอย่างของการนำไปใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ
1. การใช้ระบบระบุตำแหน่งหรือติดตามอุปกรณ์ต่างๆ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน หรือโทรศัพท์มือถือ
2. การผลิตตู้เย็นที่รองรับการใช้ IPv6 ที่ทำให้ตู้เย็นสามารถแสกนได้ว่าอาหารใดที่กำลังจะหมด และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปยังร้านค้าเพื่อสั่งซื้อสินค้าโดยตรง
3. การใช้ IPv6 ร่วมกับเทคโนโลยีบางอย่างที่ใช้ตรวจสอบสภาพแวดล้อม เพื่อตรวจสอบสภาพมลพิษในที่ต่างๆ
4. โทรทัศน์ในอนาคตอาจเป็นแบบที่สามารถโต้ตอบกับคนดูได้ หรือเครื่องเล่น CD ที่สามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์มาได้โดยตรงจากอินเทอร์เน็ต
5. ใช้ IPv6 ช่วยควบคุมการใช้พลังงานหรือก๊าชหุงต้มในองค์กรหรือครัวเรือน
6. การใช้เป็นอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือที่สามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้แม้ในขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่ โดยไม่เกิดปัญหา
7. อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการใช้งาน IPv6 สามารถรายงานสภาวะต่างๆของผู้ป่วย อาทิ ความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ โดยติดตั้งอุปกรณ์นี้ไว้ที่บ้านโดยที่ไม่ต้องมาพบแพทย์ เป็นต้น

ที่มา : http://sakon-pin.blogspot.com/2009/11/ipv6-internet-protocol-version-6_04.html

ประโยชน์หลักของ IPv6

ประโยชน์หลักของ IPv6 และเป็นเหตุผลสำคัญของการเริ่มใช้ IPv6 ได้แก่ จำนวน IP address ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน IP address เดิมภายใต้ IPv4 IPv4 address มี 32 บิต ในขณะที่ IPv6 address มี 128 บิต ความแตกต่างของจำนวน IP address มีมากถึง 296 เท่า ความสำคัญของการมี IP address ที่ไม่ซ้ำกันและสามารถเห็นกันได้ทั่วโลก จะช่วยผลักดันการพัฒนา แอพพลิเคชั่นแบบ peer-to-peer ที่ต้องการ IP address จริงเป็นจำนวนมาก เช่นการทำ file sharing, instant messaging, และ online gaming แอพพลิเคชั่นเหล่านี้มีข้อจำกัดภายใต้ IPv4 address เนื่องจากผู้ใช้บางส่วนที่ได้รับจัดสรร IP address ผ่าน NAT (Network AddressTranslation) ไม่มี IP address จริง จึงไม่สามารถใช้แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ได้ การใช้ IP address ปลอม อาจทำให้เกิดความยุ่งยากในอนาคตหากต้องมีการรวมเครือข่ายสองเครือข่ายที่ใช้ IP address ปลอมทั้งคู่ อีกทั้ง การใช้ IP address ปลอม เป็นการปิดโอกาสที่จะใช้แอพพลิเคชั่นหรือบริการแบบ peer-to-peer เช่น IPsec ในอนาคต

ที่มา : http://sakon-pin.blogspot.com/2009/11/ipv6-internet-protocol-version-6_04.html

IPv4 สู่ IPv6

ปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่ง ขึ้นและมีเทคโนโลยีต่างๆมากมายที่จะต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อถึง กัน ดังในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือก็มีอินเทอร์เน็ตเป็น ส่วนประกอบหนึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันที่ใช้ IP Address ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้จะต้องมีการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตโดยการขยาย IP Address ให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการทำงานในโลกอนาคตที่มีอย่างไม่ จำกัด ซึ่งอินเทอร์เน็ต ที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้จะก่อให้ประโยชน์ได้อย่างมหาศาลและช่วยอำนวยความสะดวกใน การดำรงชีวิตในทุกๆด้านรวมไปถึงการศึกษาและด้านธุรกิจ

 ความหมายของ IP Address IP Address ที่ใช้นั้นประกอบด้วยเลข 4 ชุด (หรือ 4 Bytes) แต่ละชุดจะแยกกันด้วยเครื่องหมาย “.” และแต่ละชุดจะเป็นตัวเลขได้ ตั้งแต่ 0 – 255 (มาจาก 28-1) ดังตัวอย่าง 66.218.71.86 เป็นต้น มีด้วยกัน 5 Classes ได้แก่ Class A, B, C, D,และ E แต่ที่ใช้อยู่ในระบบเพียง 4 Classes โดย Class D นำมาใช้งานด้าน Multicast Application ส่งแพ็กเก็ตข้อมูลกระจายให้กลุ่มคอมพิวเตอร์ได้แก่งาน Tele- conference งานถ่ายทอด TV/Video บนระบบ IP Network เป็นต้น และสำหรับ Class E ไม่มีการใช้จริง

การขยาย IP จาก IPv4 เป็น IPv6 กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล ส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลคือ IP address ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆบน อินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันจะต้องมีเลขหมายเบอร์ โทรศัพท์เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลข IP Address ที่ไม่ซ้ำกับใครหมายเลข IP address ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามี อัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว

นักวิจัยเริ่มพบว่า จำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคตและหากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเรา จะไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้น จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก (Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล แพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี

Internet Protocol version 6 (IPv6) บางครั้งเรียกว่า  Next Generation Internet   Protocol หรือ IPng  ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ดีในเครือข่ายที่มี ประสิทธิภาพสูง เช่น  Gigabit Ethernet, OC-12, ATMและในขณะเดียวกันก็ยังคงสามารถทำงานในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพต่ำได้ เช่น  wireless network นอกจากนี้ยังได้มีการจัดเตรียมแพลตฟอร์มสำหรับฟังก์ชันใหม่ๆ ของอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นที่ต้องการในอนาคตอันใกล้ไว้ด้วย  ความแตกต่าง ระหว่าง  IPv6 และ  IPv4 มีอยู่ 5 ส่วนใหญ่ๆคือ การกำหนดหมายเลขและการเลือกเส้นทาง (Addressing & Routing) ความปลอดภัย   อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Network Address Translator : NAT)  การลดภาระในการจัดการ ของผู้ดูแลระบบ  และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา  (Mobile Devices)

ที่มา : http://www.thnic.or.th/article/18-technology/46-ip-v4-ip-v6

การใช้งาน Mobile IPv6

เมื่อเราต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตขณะเคลื่อนที่ การใช้ Mobile IPv6 ทำให้การส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตราบรื่น ทุกเครือข่ายต้องเชื่อมผ่านรูปแบบ IPv6 เราจะสามารถเคลื่อนย้ายในรูปแบบนี้ได้จากทุกที่ที่สามารถเชื่อมถึงกัน ในการทดสอบได้ทำอยู่ในระดับห้องทดลองก็จะมี การทดสอบในระดับโปรแกรมที่ใช้งาน 3 โปรแกรมคือการ ping ssh ftp และการ Streaming ได้แสดงผลของการทดลองให้ดูความแตกต่างและความสะดวกในการใช้งานเมื่อเราเคลื่อนย้ายไปสู่เครือข่ายอื่น
องค์ประกอบที่สำคัญของ IPv6
1. Mobile Node (MN) อุปกรณ์เคลื่อนที่
2. Corespoding Node’s (CN) คู่สนทนา
3. Home Agent (HA) ตัวกลางในการติดต่อกับ MN
4. Home Network เครือข่ายเดิม
5. Home Address หมายเลขไอพีเดิม
6. Foreign Network เครือข่ายใหม่
7. Care-of Address หมายเลขไอพีใหม่

ที่มา : http://sakon-pin.blogspot.com/2009/11/ipv6-internet-protocol-version-6_04.html

ขั้นตอนการทำงานของ Mobile IP

1. เมื่อ MN เคลื่อนที่ไปยัง Foreign network จะได้รับ IP address ใหม่จากเจ้าของเครือข่าย เรียกว่า Care-of address
2. MN ส่ง Binding Update ไปยัง HA เพื่อประกาศ Care-of address ให้ Home network ทราบ
3. HA ตอบรับโดยส่ง Binding Acknowledgement กลับ
4. เมื่อ CN ต้องการติดต่อกับ MN จะติดต่อผ่าน HA (เพราะยังไม่ทราบว่ามีการเคลื่อนที่)
5. HA ส่งต่อข้อมูลจาก CN ให้กับ MN โดยใช้ Care-of address ของ MN
6. MN สร้าง tunnel ผ่าน HA เพื่อส่งข้อมูลต่อไปยัง CN
7. Return Routability: MN และ CN แลกเปลี่ยน test packet เพื่อทดสอบเส้นทางว่าทั้ง Home address และ Care-of-address นั้นใช้งานได้ โดย MN จะส่ง test packet ไปทั้งสองเส้นทาง เส้นทางแรกส่งผ่าน HA ไปยัง CN และเส้นทางที่สองส่งไปยัง CN โดยตรง จากนั้น CN ตอบรับ test packet ทั้งสองพร้อมทั้งส่งรหัสเพื่อเริ่มการติดต่อ
8. Route Optimization: MN ส่ง Binding Update ไปยัง CN เพื่อประกาศ IP address ใหม่ จากนั้น CN จะตอบรับโดยส่ง Binding Acknowledgement กลับ จากนั้น MN และ CN จะติดต่อกันโดยตรงไม่ผ่าน HA โดยข้อมูลที่ส่งผ่านกันทั้งหมดนี้จะถูกเข้ารหัสลับเพื่อความปลอดภัย
หมายเลขไอพี หรือ ไอพีแอดเดรส (Internet Protocol Address) คือหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอล Internet Protocol คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสิบ จำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดยหมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร
ตัวอย่างของหมายเลขไอพี ได้แก่ 207.142.131.236 ซึ่งเมื่อแปลงกลับมาในรูปแบบที่อ่านได้จะเรียกว่า โดเมนแอดเดรส ผ่านทาง โดเมนเนมซีสเทม (Domain Name System) ซึ่งหมายเลขนั้นหมายถึง www.wikipedia.orgไอพีเวอร์ชัน 6
ไอพีเวอร์ชันที่ 6 (IPv6) ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยจุดประสงค์หลักในการแก้ปัญหาการขาดแคลนจำนวนหมายเลขไอพีซึ่งกำหนดโดยมาตรฐานไอพีเวอร์ชันที่ 4 ซึ่งในมาตรฐานของเวอร์ชัน 6 นี้จะใช้ระบบ 128 บิตในการระบุหมายเลขไอพี